ถอดบทเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัยประยุกต์ตามแนววอลดอร์ฟ กรณีศึกษาโรงเรียนเชียงรายปัญญานุกูล

 Creator

Abstract: ถอดบทเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัยประยุกต์ตามแนววอลดอร์ฟ โรงเรียนเชียงรายปัญญานุกูล มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย 2) เพื่อศึกษาเหตุปัจจัยสำคัญต่อคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย 3) เพื่อกำหนดภาพอนาคตการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย และ 4) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน หัวหน้าฝ่ายวิชาการ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบวิเคราะห์เอกสารและการจัดประชุมการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารจัดการการจัดการเรียนการสอน คุณภาพของการบริหารจัดการการจัดการเรียนการสอน ภาพรวมอยู่ในระดับ ดีมาก การจัดระบบประกันคุณภาพการจัดการเรียนการสอน มีการจัดระบบประกันคุณภาพไว้ 5 ด้าน และการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษา ปีการศึกษา 2558 ผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย พบว่า มีคุณภาพระดับดีเยี่ยม คะแนนที่ได้ คือ 97.95 การวิจัยและพัฒนาในการบริหารจัดการการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนมีการทำวิจัยในชั้นเรียน ครูผู้สอนมีการพัฒนาตนเองโดยการ เข้าร่วมอบรมสัมมนาอย่างต่อเนื่อง ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อการบริหารจัดการการจัดการเรียน การสอน ภาพรวมมีระดับคุณภาพ อยู่ในระดับ มาก 2. เหตุปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพของการบริหารจัดการการจัดการเรียนการสอน เหตุปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพของการบริหารจัดการ แยกได้ 2 ประเด็น ประกอบด้วย ปัจจัยสนับสนุนได้แก่ บุคลากร งบประมาณ การบริหารจัดการ เครื่องมือ การจัดสภาพแวดล้อม เครือข่าย กิจกรรม/โครงการ การพัฒนาบุคลากร การวิจัยในชั้นเรียน กระบวนการ เป็นต้น สำหรับปัจจัยฉุดรั้งที่พบได้แก่ บุคลากร เปลี่ยนครูบ่อย ภาระงานมาก การบริหารจัดการ ขาดการพัฒนาปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง เครือข่ายผู้ปกครองให้ความร่วมมือน้อย เป็นต้น 3. ภาพอนาคตการบริหารจัดการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย ภาพอนาคตของการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ผู้วิจัยได้กำหนดภาพอนาคต 4 ด้านคือ ด้านคุณภาพ ด้านความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้านกระบวนการภายใน และด้านการเรียนรู้และพัฒนา ซึ่งจะนำไปสู่ผลลัพธ์คือ การบริหารจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัยตามแนวทางวอลดอร์ฟบรรลุผลสำเร็จมีประสิทธิภาพ 4. แนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัยในปีการศึกษา 2560 – 2561 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ คือ “โรงเรียนเชียงรายปัญญานุกูล ให้โอกาสทางการศึกษา พัฒนาศักยภาพความเป็นมนุษย์ตามแนวธรรมชาติ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคม และสติปัญญา ตามมาตรฐาน สามารถช่วยเหลือตนเองได้และมีความพร้อมที่จะเรียนต่อไปในระดับสูงขึ้น” โดยกำหนดมุมมอง 4 มุมมอง คือ มุมมองด้านคุณภาพ ด้านความพึงพอใจ ด้านกระบวนการภายใน และด้านการเรียนรู้และพัฒนา ได้ 4 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และมีคุณภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาครูผู้สอนให้มีคุณภาพและศักยภาพสูงสุด ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาสื่อนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางวอลดอร์ฟ ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาเครือข่าย ความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ครู ผู้ปกครองและชุมชน
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

บุณรดา ชัยบุญเรือง(2560).ถอดบทเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัยประยุกต์ตามแนววอลดอร์ฟ กรณีศึกษาโรงเรียนเชียงรายปัญญานุกูล.
วิทยานิพนธ์ (ครุศาสตรมหาบัณฑิต)ปริญญาโท การบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Blogger นักศึกษาปริญญาโท บริหารการศึกษา ม.ธนบุรี รุ่นที่ 7